บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มาออกกำลังกายกันเถอะ เดินวันละ 10,000 ก้าว ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์มากมาย วันนี้จะมาแนะนำวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ นั้นคือการเดิน
การเดินมีประโยชน์กว่าที่คิด มีอะไรบ้าง
1. ลดอัตราการเสียชีวิต จากโรค NCDs ( โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ )  19-30% ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการออกกำลัง ถ้าออก แบบ moderate intensity คือ เดินให้หัวใจเต้น ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที ได้ นาน 30 นาทีต่อวัน และ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดอัตราการเสียชีวิต ถึง 19% ทีเดียว แต่ถ้าออกเบากว่านี้ก็ยังได้ประโยชน์ คือ ถ้าเดินวันละ 15 นาทีจะลดอัตราการเสียชีวิตได้ 4 %
2. ลดน้ำหนัก การเดินในอัตราเดินชิว ๆ ( 2 mph ) หรือ 3 km/h จะเผาพลาญพลังงานเท่ากับน้ำหนักเป็นกิโลกรัม สมมุติว่าเดินได้ 30 นาที เท่ากับ 1 mile น้ำหนัก 50 kg จะเผาผลาญได้ 50 kcal แต่ถ้าเดินได้ 1 ชั่วโมงก็จะได้ 100 kcal ความเร็วเท่าไหร่ ลองไปขึ้นเครื่องดูค่ะ ถ้าหิ้วของด้วยก็จะ burn ได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเป็นคนขยันเดิน จะทำให้อายุยืนค่ะ
3. ฉะลอการเป็นโรค สมองเสื่อม (  Alzheiemer 's disease ) ได้ ช้าไป 5 ปี สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยง
4. ลดความดันโลหิตลงได้ 5 mmHg.
5. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน และการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
6. เพิ่มเอ็นโดฟิน ทำให้มีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น
7. เพิ่มมวลกระดูก ป้องกันกระดูกหัก
8. ป้องกันการเป็นมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะในผู้หญิงลดได้ถึง 31%
9. ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเพิ่มความสมดุล ป้องกันการล้ม และไหล่ในผู้สูงอายุ
10.  เพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อหวัด และเชื้อโรคอื่น

มีประโยชน์ มากขนาดนี้ลุกขึ้นมาทำเถอะค่ะ แค่เดิน ถ้าเดินไม่ได้ก็แค่แกว่งแขนไม่ต้องรอเตรียมชุด ไม่ต้องรอซื้อจักรยาน ไม่ต้องรอซื้อรองเท้า ทำทุกครั้งที่นึกได้และพร้อมค่ะ


วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันนี้ขอเขียนเรื่อง หัวใจโต ? 
เวลาเราไปตรวจสุขภาพ มักจะได้ผลตรวจสุขภาพ มาว่ามีหัวใจโตเล็กน้อย ! โปรดปรึกษาแพทย์ อะไรทำนองนั้น 
คำว่าหัวใจโต จากรายงานการตรวจร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วจะได้จากการตรวจคลื่นหัวใจ ( EKG ) หรือตรวจเงาหัวใจจาก การทำเอกซเรย์ ทรวงอก ( Chest X-ray ) 
แล้วมันอันตรายไหมคะ ? 
ไม่ต้องตกใจค่ะ หัวใจโตเล็กน้อย เป็นเพียงเงาของหัวใจ หรือ การตรวจไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น คำว่าโตมักจะหมายถึงโตกว่าค่ามาตฐานทั่วไป แต่อาจจะเป็นค่าปรกติของเราเองก็ได้ เพราะฉะนั้น อาจไม่มีอะไร ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ทางโรคหัวใจ 

แต่สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การมีหัวใจโตกว่าค่าปรกติ มีความหมาย ที่บ่งบอกว่าเรามีความดันโลหิตสูงมานานจนกระทั่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปรกติ และมีผลต่อหัวใจในระยะยาว 
เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง แล้วตรวจสุขภาพ พบหัวใจโต ควรจะกลับมาพิจารณาว่า เรารักษาระดับความดันโลหิตได้ดีหรือไม่ ควรจะมีการตรวจความดันโลหิตที่บ้าน เพื่อให้แน่ใจว่าเรารักษาระดับความดันโลหิตได้ต่ำว่าระดับที่ควรจะเป็นหรือไม่ ? 
สำหรับบุคคลที่สุขภาพแข็งแรง เมื่อได้รับผลการตรวจว่าหัวใจโต ไม่ต้องตกใจ ให้นำมาปรึกษากับแพทย์หัวใจสักครั้งเพื่อดูความรุนแรงของหัวใจโตนั้น และติดตามดูในปีต่อไปค่ะ 

สรุป ใจใหญ่ ใจโต ไม่ดีนะคะ ใจเล็กไม่มีปัญหา แต่อย่าใจน้อยละกันคะ 
แพทย์หญิง ธัญรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์
 
ภาคคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่บ่งบอกลักษณะหัวใจโต